วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551

วัดช่องลม (ธรรมโชติ)

วัดช่องลม(ธรรรมโชติ)
วัดช่องลม (ธรรมโชติ) เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม มีเจดีย์ไห 100 ปี มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพนับถือและนมัสการคือ หลวงพ่อแก้ว และ หลวงปู่บ่าย อนาคตจะเป็นท่าเทียบเรือการท่องเที่ยวของจังหวัด
ผู้สร้างวัดแต่เดิม
ได้มีนายปาน นายสังข์ กำนันตุ่ม (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นผู้ร่วมกันสร้างวัดนี้ โดยไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ใด มีพระวินัยธรรมแก้ว เป็นผู้ครองวัด สมัยนั้นวัดได้ทรุดโทรมมาก นายพ่วง นางลัย จึงได้ร่วมกับพระวินัยธรรมแก้ว และสัสดีอำเภอ ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีขึ้น ต่อมาในสมัยพระอธิการบ่าย เป็นเจ้าอาวาส ได้ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธา บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยสร้าง อุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ ตลอดจนพระปรางค์ขึ้นอย่างมั่นคงถาวรสืบมาจนทุกวันนี้

ผู้ปฏิสังขรณ์วัดต่อมา พระครูใบฎีกาถนอม ได้จัดการปฏิสังขรณ์กุฎีสงฆ์ และศาลาการเปรียญ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมลงได้ร่วมมือกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในตำบลนี้ สร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นหนึ่งหลัง แต่ยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อย พระครูใบฎีกาถนอมก็มรณภาพลง ต่อมาพระอธิการพวง สํวโร ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อจนสำเร็จเรียบร้อย และได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมอีกหนึ่งหลัง เป็นที่เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร ต่อมาพระครูสมุทรธีรคุณ (พิณ สุวณฺโณ ป.ธ.๖) เป็นเจ้าอาวาสได้ดำเนินการซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกประมาณ 9 ไร่เศษ แล้วย้ายหมู่กุฏิสงฆ์ทั้งหมดมาสร้างในที่ดินแห่งใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ และดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ ปรับลานวัด สร้างเขื่อนกั้นน้ำเซาะตลิ่ง

ประวัติพระพุทธฉาย (เจดีย์ไห 100 ปี) หลวงพ่อบ่าย ธมฺมโชโต ท่านเกิดปีมะแม พ.ศ. 2502 ต่อมาท่านได้มาอยู่ที่วัดช่องลมและได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งหลวงพ่อแก้ว พรหมสโร เป็นเจ้าอาวาส และเป็นลูกผู้พี่ของหลวงพ่อบ่าย ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในราวปี พ.ศ.2422 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 หลวงพ่อบ่ายท่านได้ไปธุดงค์ที่จังหวะดสระบุรี เพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉาย โดยมีพระภิกษุติดตามไปด้วย 4 รูป คือ อาจารย์ไปล่ พระยา พระพลอยและบิดาผู้บรรยาย ออกเดินทางในราวเดือน 12 เมื่อไปถึงคณะของหลวงพ่อบ่าย ไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉายแล้ว ท่านพักแรมอยู่ประมาณเดือนเศษ ท่านได้เดินทางไปที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในราวเดือน 4 กลางเดือน พักแรมอยู่ที่พระแท่นดงรัง 7 วัน เมื่อหลวงพ่อเสร็จภารกิจแล้ว ท่านก็เดินกลับวัดช่องลม การไปธุดงค์ในครั้งนี้เป็นเวลา 4 เดือนเศษ ต่อมาบิดาผู้บรรยายได้ลาสิกขาบท ในปี พ.ศ.2441 บิดาผู้บรรยายได้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลลมทวน ในขณะนั้นหลวงพ่อบ่ายได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม แทนหลวงปู่แก้ว ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัยในปี พ.ศ. 2445 หลวงพ่อบ่าย มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธฉาย (ถ้ำไห) ซึ่งท่านเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ บิดาผู้บรรยายเป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยบอกบุญเรื่ยไรจากชาวบ้านขอไหต่างๆ เพื่อสร้างพระพุทธฉาย และได้ทำการก่อสร้างโดยใช้ทาสและพระสงฆ์ในวัดโดยขอร้องให้จางวางสอน (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง คือครูถม เจริญผล และได้สร้างแพะไว้หน้าถ้ำ 1 ตัว มีชื่อว่า "บู๊" ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของหลวงพ่อบ่าย ซึ่งท่านเกิดปีมะแม ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลก พวกโจรมิจฉาชีพได้ตัดหัวแพะ และถอดเอาตรีที่ปักยอดเจดีย์ไปเกือบหมด เพื่อหวังทรัพย์จึงเหลืออยู่แต่ยอดบนๆ ซึ่งปรากฎให้เห็ยอยู่ในปัจจุบันนี้ ฯ